คณะกรรมการบริษัท ได้มีการดำเนินงานและปฏิบัติตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีตามนโยบายที่กำหนดและสอดคล้องกับข้อกำหนดกฎหมาย เนื่องจากตระหนักดีว่าการกำกับดูแลกิจการเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มต่าง ๆ ซึ่งได้แก่ คณะกรรมการบริษัท คณะผู้บริหารของบริษัท ผู้ถือหุ้น สังคม และผู้มีส่วนได้เสียทุกราย รวมทั้งต้องมีการดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมอย่างต่อเนื่องด้วย ฉะนั้น การมีการกำกับดูแลกิจการที่ดีจึงเป็นพื้นฐานที่สำคัญในการช่วยให้องค์กรสามารถเติบโตได้อย่างต่อเนื่องและมั่นคง เพราะการมีมาตรฐานการจัดการกิจการที่ดีด้วยการบริหารงานอย่างมีประสิทธิภาพ และโปร่งใสย่อมเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจ และสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้ลงทุนและผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย |
|
ผลประเมินการกำกับดูแลกิจการบริษัทจดทะเบียนประจำปี 2554 บริษัทฯ ได้รับการประเมิน ดังนี้ |
|
1) การประเมินคุณภาพการจัดประชุมผู้ถือหุ้น โดยสมาคมส่งเสริมผู้ลงทุนไทย บริษัทฯ ได้รับการประเมินในระดับ “ดีเยี่ยม” “ดีเยี่ยม” |
|
2) การประเมินการกำกับดูแลกิจการ โดยสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย ร่วมกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) บริษัทฯ ได้รับการประเมินในระดับ “ดี” “ดี” |
|
เพื่อที่จะยกระดับให้บริษัทฯ มีการกำกับดูแลกิจการที่ดี บริษัทฯ จึงได้กำหนดแนวทางในการกำกับดูแลกิจการที่ดีของกิจการ ดังนี้ |
|
1) สร้างกรอบโครงสร้างของการกำกับดูแลกิจการ |
|
คณะกรรมการบริษัทได้มีการสร้างกรอบโครงสร้างของการกำกับดูแลกิจการเพื่อสนับสนุนการกำกับดูแลกิจการที่ดีดังนี้ |
|
ภาวะผู้นำและวิสัยทัศน์ |
|
บริษัทฯ มีระบบการแบ่งแยกบทบาทหน้าที่รับผิดชอบระหว่างคณะกรรมการกับคณะกรรมการ บริหารอย่างชัดเจนโดยคณะกรรมการได้ดูแลให้มีการกำหนดเป้าหมายการดำเนิน ธุรกิจที่ชัดเจนและวัดผลได้ เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินธุรการให้เป็นไปตามแผนธุรกิจที่กำหนดไว้ โดยคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของบริษัทฯและคณะกรรมการจะมีการประเมินผลการดำเนิน งานอย่างรอบคอบและสม่ำเสมอ โดยเปรียบเทียบผลการดำเนินงานของฝ่ายบริหารว่าเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ หรือไม่ ในกรณีที่ผลการดำเนินงานที่เกิดขึ้นมีความแตกต่างจากเป้าหมายที่กำหนด ก็จะมีการประเมินหาสาเหตุและดำเนินการแก้ไข้ โดยจะมีการประชุมคณะกรรมการบริษัท อย่างน้อยปีละ 4 ครั้ง |
|
จริยธรรมทางธุรกิจ |
|
คณะกรรมการบริหารได้จัดทำแนวทางเกี่ยวกับจริยธรรมธุรกิจ เพื่อรักษามาตรฐานการกำกับดูแลกิจการที่ดีและสร้างการกำกับดูแลการที่เป็น วัฒนธรรมขององค์กร โดยให้ฝ่ายจัดการและพนักงานรับทราบและปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต โปร่งใส ทั้งต่อบริษัทฯ และผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม รวมทั้งมีความรับผิดชอบต่อชุมชนและสังคมโดยสนับสนุนกิจกรรมของชุมชน ในส่วนของคู่แข่งทางการค้าจะไม่ใช้วิธีทำลายคู่แข่งขันด้วยวิธีที่ผิด แต่จะใช้วิธีสร้างศักยภาพให้สามารถแข่งขันในตลาดได้ดีขึ้น อีกทั้งข้อมูลที่ถือเป็นความลับทางการค้าและข้อมูลทางธุรกิจของบริษัทฯ อันได้แก่ ข้อมูลเกี่ยวกับลูกค้าของบริษัทฯ ผู้จัดหาสินค้า คู่ค้า และข้อมูลเกี่ยวกับบุคลากรจะต้องไม่เปิดเผยต่อบุคคลภายนอกองค์กร หรือพนักงานผู้อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้มีอำนาจหน้าที่ นอกจากนี้ ยังมีการรักษาสิทธิของกลุ่มลูกค้า โดยรับผิดชอบต่อคุณภาพสินค้า และการส่งมอบสินค้าภายในกำหนดเวลา โดยคำนึงถึงผลในระยะยาว |
|
การรวมหรือแยกตำแหน่ง |
ประธานกรรมการไม่เป็นบุคคลเดียวกันกับกรรมการผู้จัดการ แต่เป็นกรรมการอิสระตามความหมายของตลาดหลักทรัพย์อีกทั้งไม่มีความสัมพันธ์ ใดๆ กับฝ่ายบริหาร นอกจากนี้ โครงสร้างคณะกรรมการของบริษัท ประกอบด้วย คณะกรรมการอิสระ 1 ใน 3 ของคณะกรรมการทั้งหมด ทำให้เกิดการถ่วงดุลและการสอบทานการบริหารงาน |
|
ระบบการควบคุมและการตรวจสอบภายใน |
|
– องค์กรและสภาพแวดล้อม |
|
บริษัทฯ จัดให้มีโครงสร้างองค์กร การแบ่งแยกหน้าที่การทำงานที่ชัดเจนเพื่อช่วยให้ฝ่ายบริหารสามารถดำเนินงาน ได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ คณะกรรมการบริษัท ได้ดูแลให้บริษัทฯ มีการกำหนดเป้าหมายการดำเนินธุรกิจที่ชัดเจนและวัดผลได้ เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติงานของพนักงาน |
|
– การบริหารความเสี่ยง |
|
บริษัทฯ มีการประเมินความเสี่ยงที่เกิดจากผลกระทบทั้งจากภายในและภายนอก จึงมีการซื้อเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าเพื่อการชำระหนี้ในอนาคต มีประกันภัยสำหรับสินค้า รวมทั้งมีการประกันภัยทรัพย์สินทั้งหมดทั้งสังหาริมทรัพย์และอสังหาริมทรัพย์ นอกจากนี้ยังมีระเบียบการใช้งานคอมพิวเตอร์ให้พนักงานปฏิบัติตาม พร้อมทั้งจัดทำแผนดำเนินธุรกิจต่อเนื่อง โดยมีศูนย์สำรองที่สามารถดำเนินงานต่อเนื่องได้ทันที หากเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินที่สำนักงานของบริษัทฯ |
|
– การควบคุมการปฏิบัติงานของฝ่ายบริหาร |
|
การควบคุมการปฏิบัติงานของฝ่ายบริหารเป็นกิจกรรมที่มีความสำคัญเพื่อให้บริษัทฯ มั่นใจว่าแนวทางที่ฝ่ายบริหารกำหนดไว้ได้รับการตอบสนองและปฏิบัติตามจากทุกคนใน บริษัทฯ นอกจากนี้ บริษัทฯ มีการกำหนดวงเงินอนุมัติและอำนาจอนุมัติตามลำดับตำแหน่งของผู้บริหารที่รับผิดชอบไว้อย่างชัดเจนและเป็นลายลักษณ์อักษร |
|
– ระบบสารสนเทศและการสื่อสารข้อมูล |
|
ในการเสนอเรื่องให้คณะกรรมการบริษัทกรรมการบริหาร ได้จัดให้มีข้อมูลที่สำคัญต่างๆ อย่างเพียงพอเพื่อให้คณะกรรมการใช้ประกอบการตัดสินใจ สำหรับเรื่องการจัดเก็บเอกสารประกอบการบันทึกบัญชี และบัญชีต่าง ๆ บริษัทฯ ได้ดำเนินการอย่างครบถ้วนเป็นหมวดหมู่ และไม่เคยได้รับแจ้งจากผู้ตรวจสอบบัญชีว่ามีข้อบกพร่องในเรื่องนี้ ส่วนในเรื่องของนโยบายบัญชีคณะกรรมการบริษัท ได้พิจารณาแล้วเห็นว่าฝ่ายบริหารได้ใช้นโยบายบัญชีที่รับรองทั่วไป และเหมาะสมกับธุรกิจ นอกจากนี้ การเก็บสำรองข้อมูลคอมพิวเตอร์ ก็มีระเบียบการจัดเก็บให้ผู้ปฏิบัติงานปฏิบัติตามอย่างชัดเจน |
|
– ระบบการติดตาม |
|
เพื่อให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลบริษัทฯ มีการติดตามประเมินผลการปฏิบัติงานเปรียบเทียบกับเป้าหมายที่วางไว้อย่างสม่ำเสมอ ในปีที่ผ่านมา บริษัท สำนักงานเอินส์ท แอนด์ ยัง จำกัด ได้ทำการศึกษาและประเมินประสิทธิภาพระบบควบคุมภายในของบริษัทฯ ตามที่ผู้สอบบัญชีเห็นว่าจำเป็นเพื่อประโยชน์ในการกำหนดขอบเขตการปฏิบัติงานตรวจสอบ ซึ่งไม่ปรากฏว่าผู้สอบบัญชีได้พบจุดอ่อนในระบบการควบคุมภายในที่มีสาระสำคัญ |
|
2) สิทธิของผู้ถือหุ้นและการปฎิบัติต่อผู้ถือหุ้นอย่างเท่าเทียมกัน |
|
บริษัทฯ คำนึงถึงสิทธิของผู้ถือหุ้นตามแนวทางบรรษัทภิบาลที่ดี จึงให้ความสำคัญแก่ผู้ถือหุ้นทุกรายอย่างเป็นธรรมและเท่าเทียมกัน มีการให้ข้อมูลที่เพียงพอ และให้ความสะดวกในทุกๆ ด้านเพื่อให้ผู้ถือหุ้นร่วมเข้าประชุมเพื่อจะได้ใช้สิทธิออกเสียงลงคะแนนและ แสดงความคิดเห็นในการประชุมผู้ถือหุ้น |
|
3) สิทธิของผู้มีส่วนได้เสีย |
|
บริษัทฯ ตระหนักดีว่าองค์กรจะมีความเจริญก้าวหน้าอย่างยั่งยืนได้ จำเป็นต้องให้ความสำคัญต่อสิทธิของผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มลูกค้า ฝ่ายจัดการและลูกจ้าง คู่ค้าผู้ถือหุ้นและผู้ลงทุน ผู้สอบบัญชีอิสระ ภาครัฐ และชุมชนที่บริษัทตั้งอยู่ คู่แข่ง และเจ้าหนี้ |
ดังนั้น บริษัทฯ จึงได้สนับสนุนให้มีการร่วมมือกันระหว่างบริษัทฯ และกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียกลุ่มต่าง ๆ อย่างมีระบบ ถูกต้องตามข้อกำหนดของกฎหมาย และมีจริยธรรมในการดำเนินธุรกิจจึงสามารถสร้างความเชื่อมั่นและความพึงพอใจ ให้แก่ทุกฝ่าย |
|
4) การเปิดเผยข้อมูลและความโปร่งใส |
|
คณะกรรมการบริษัท ได้ให้ความสำคัญในการเปิดเผยสารสนเทศที่สำคัญของบริษัทฯ รวมทั้งผลการดำเนินงานของบริษัทฯ ทั้งที่เป็นตัวเงินและไม่เป็นตัวเงินให้เป็นอย่างถูกต้องครบถ้วน ทันเวลาและโปร่งใส เพื่อความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย และเป็นไปตามข้อกำหนดของกฎหมาย จึงได้มีการเผยแพร่ข้อมูลต่างๆ ผ่านช่องทางและสื่อการเผยแพร่ข้อมูลต่างๆ ของตลาดหลักทรัพย์และเว็บไซด์ของบริษัทฯ http://www.whitegroup.co.th เพื่อเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารต่างๆ ให้แก่ผู้ลงทุนและผู้ที่มีส่วนได้เสียให้รับทราบโดยตรง |